ข้ามไปเนื้อหา

แฟแร็นตส์ ซาลอชี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แฟแร็นตส์ ซาลอชี
ซาลอชี เมื่อ ค.ศ. 1944
ผู้นำแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1944 – 7 พฤษภาคม ค.ศ. 1945
ก่อนหน้ามิกโลช โฮร์ตี
(ในฐานะผู้สำเร็จราชการแห่งฮังการี)
ถัดไปสภาแห่งชาติชั้นสูง
(ในฐานะองค์คณะประมุขแห่งรัฐ)
นายกรัฐมนตรีฮังการี
ดำรงตำแหน่ง
16 ตุลาคม ค.ศ. 1944 – 7 พฤษภาคม ค.ศ. 1945
ก่อนหน้าเกซอ ลอกอโตช
ถัดไปเบ-ลอ มิกโลช
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด06 มกราคม ค.ศ. 1897(1897-01-06)
ก็อชชอ ราชอาณาจักรฮังการี จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี (ปัจจุบันคือกอชิตเซ ประเทศสโลวาเกีย)
เสียชีวิต12 มีนาคม ค.ศ. 1946(1946-03-12) (49 ปี)
บูดาเปสต์ สาธารณรัฐฮังการี
สาเหตุการเสียชีวิตการประหารชีวิตด้วยการแขวนคอ
พรรคการเมืองพรรคแอร์โรว์ครอสส์
คู่สมรสกิแซ็ลลอ ลุตซ์
วิชาชีพทหาร นักการเมือง
รางวัลเครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎเหล็ก ชั้นที่ 3
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ออสเตรีย-ฮังการี (ค.ศ. 1915–1918)
 ราชอาณาจักรฮังการี (ค.ศ. 1920–1935)
สังกัด กองทัพออสเตรีย-ฮังการี
 กองทัพราชอาณาจักรฮังการี
ประจำการค.ศ. 1915–1935
ยศพันตรี
บังคับบัญชากองพลน้อยผสมโฮนเวดที่ 1
ผ่านศึกสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

แฟแร็นตส์ ซาลอชี (ฮังการี: Szálasi Ferenc; 6 มกราคม ค.ศ. 1897 – 12 มีนาคม ค.ศ. 1946) เป็นนายทหารและนักการเมืองชาวฮังการี ผู้เป็นหัวหน้าพรรคแอร์โรว์ครอสส์และดำรงตำแหน่งหัวหน้ารัฐบาลฮังการีในระหว่างการยึดครองประเทศของนาซีเยอรมนีในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง

ซาลอชีเป็นนายทหารคนสำคัญของกองทัพออสเตรีย-ฮังการีในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ต่อมาเมื่อ ค.ศ. 1925 เขากลายเป็นทหารเสนาธิการของราชอาณาจักรใหม่ภายใต้มิกโลช โฮร์ตี ผู้สำเร็จราชการแห่งฮังการี ในช่วงแรก ซาลอชีไม่สนใจการเมืองแต่มีแนวคิดฝ่ายขวาชาตินิยมสุดโต่งในช่วงต้นทศวรรษ 1930 และเริ่มสนับสนุนอุดมการณ์เรียกร้องดินแดนชนชาติฮังการี (Hungarian irredentism) อย่างแข็งขัน จากนั้นใน ค.ศ. 1937 ซาลอชีได้ก่อตั้งพรรคชาติสังคมนิยมฮังการี โดยเขาลาออกจากราชการทหารและอุทิศตนให้กับการเมืองอย่างเต็มที่ เขาได้รับการสนับสนุนอย่างมากผ่านโครงการชาตินิยมหัวรุนแรงและต่อต้านชาวยิว ในขณะที่ผู้ติดตามของเขาเริ่มมีแนวคิดสุดโต่งมากขึ้น นำไปสู่การจับกุมซาลอชีใน ค.ศ. 1938 ในระหว่างการจองจำ เขาได้ประกาศตนเป็นหัวหน้าพรรคแอร์โรว์ครอสส์ ซึ่งกลายเป็นกองกำลังทางการเมืองที่ทรงอำนาจมากที่สุดพรรคหนึ่งในประเทศ ซาลอชีได้รับนิรโทษกรรมใน ค.ศ. 1940 แต่ต้องดำเนินกิจกรรมพรรคอย่างลับ ๆ หลังจากโฮร์ตีสั่งห้ามพรรคแอร์โรว์ครอสส์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง

ภายหลังการยึดครองฮังการีของเยอรมนีในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1944 และการขับไล่โฮร์ตีในเดือนตุลาคม ปีเดียวกัน ซาลอชีจึงได้รับตำแหน่งหัวหน้ารัฐบาลและประมุขแห่งรัฐ รัฐบาลหุ่นเชิดฝักใฝ่นาซีของเขาเป็นที่รู้จักกันในชื่อ "รัฐบาลเอกภาพแห่งชาติฮังการี" อยู่ในการครอบงำของสมาชิกพรรคแอร์โรว์ครอสส์ ระบอบการปกครองของเขาได้ประกาศกฎอัยการศึก มีส่วนร่วมในความพยายามทำสงครามของเยอรมนี และสนับสนุนฮอโลคอสต์ในฮังการี ซึ่งเป็นสิ่งที่โฮร์ตีได้กีดกันมาโดยตลอด กองกำลังติดอาวุธของเขามีส่วนรับผิดชอบต่อการฆาตกรรมชาวยิวในฮังการี 10,000–15,000 ราย[1]

รัฐบาลไส้ศึกของซาลอชีมีอำนาจอยู่จำกัดภายในกรุงบูดาเปสต์และบริเวณใกล้เคียง ซึ่งดำรงอยู่เพียง 163 วัน เมื่อรัฐบาลของเขาต้องเผชิญหน้ากับการรุกรานของกองทัพโซเวียตและโรมาเนีย ซาลอชีพร้อมด้วยคณะรัฐมนตรีจึงลี้ภัยออกนอกประเทศชั่วครู่ก่อนการล้อมบูดาเปสต์จะเกิดขึ้น เขาถูกทหารอเมริกาจับกุมที่ออสเตรียในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1945 และกลับสู่ฮังการีเพื่อดำเนินการพิจารณาคดี รัฐบาลเอกภาพแห่งชาติซึ่งได้ย้ายไปที่มิวนิกจึงยุบเลิกลงอย่างเป็นทางการในวันต่อมา ศาลประชาชนในบูดาเปสต์ได้ตัดสินว่าเขามีความผิดฐานก่ออาชญากรรมสงครามและกบฏต่อแผ่นดิน และถูกตัดสินประหารชีวิตด้วยการแขวนคอเมื่อวันที่ 12 มีนาคม ค.ศ. 1946

อ้างอิง

[แก้]
  1. Patai, Raphael (1996). The Jews of Hungary: History, Culture, Psychology. Detroit: Wayne State University Press. p. 730. ISBN 0-8143-2561-0.

เอกสารและหนังสืออ่านเพิ่ม

[แก้]
  • Cohen, Asher. “Continuity in the Change: Hungary, 19 March 1944.” Jewish Social Studies 46, no. 2 (1984): 131–44. http://www.jstor.org/stable/4467252.
  • Cohen, Asher. "Some Socio-Political Aspects of the Arrow Cross Party in Hungary." East European Quarterly 21.3 (1987): 369+
  • Deak, Istvan. "Collaborationism in Europe, 1940–1945: The Case of Hungary." Austrian History Yearbook 15 (1979): 157–164.
  • Deák, István. "A fatal compromise? The debate over collaboration and resistance in Hungary." East European Politics and Societies 9.2 (1995): 209–233.
  • Deák, István. “Hungary” in Hans Rogger and Egon Weber, eds., The European Right: A Historical Profile (1963) pp. 364–407.
  • Herczl, Moshe Y. Christianity and the Holocaust of Hungarian Jewry (1993) pp 79–170. online
  • Lackó, M. Arrow-Cross Men: National Socialists 1935–1944 (Budapest, Akadémiai Kiadó 1969).
  • Fiala-Marschalkó: Vádló bitófák. London: Süli, 1958
  • Rozsnyói, Á. “October Fifteenth, 1944: (History of Szálasi’s Putsch).” Acta Historica Academiae Scientiarum Hungaricae 8, no. 1/2 (1961): 57–105. http://www.jstor.org/stable/42554680.
  • Thomas, Dr. Nigel, and, Szabo, Laszlo Pal (2008). The Royal Hungarian Army in World war II. New York: Osprey Publishing. p. 48. ISBN 978-1-84603-324-7.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
ก่อนหน้า แฟแร็นตส์ ซาลอชี ถัดไป
มิกโลช โฮร์ตี
(ผู้สำเร็จราชการแห่งฮังการี)
ผู้นำแห่งชาติ
(ค.ศ. 1944 – ค.ศ. 1945)
สภาแห่งชาติชั้นสูง
เกซอ ลอกอโตช นายกรัฐมนตรีฮังการี
(ค.ศ. 1944 – ค.ศ. 1945)
เบ-ลอ มิกโลช
แฟแร็นตส์ ร็อยนิสส์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศาสนาและการศึกษา
(ค.ศ. 1945)
เกซอ แตแลกี